กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
บาร์โค้ดถูกพบบนสินค้าทั่วไป หรือติดบนชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า เพื่อใช้แทนการแสดงรหัสสินค้าที่เป็นตัวเลขโดยใช้สัญลักษณ์แท่งสีดำและสีขาวเรียงรายอย่างเป็นระเบียบที่มีความหนาบางและห่างที่ไม่เท่ากัน แล้วใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดยิงแสงแล้วรับข้อมูลการสะท้อนแสงกลับมาถอดรหัสเป็นข้อมูล บาร์โค้ดได้รับสิทธิบัตรเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ.2495 ส่วนรหัสที่ใช้ในปัจจุบันและยอมรับกันมากคือ EAN (European Article Number) หลังจากผ่านไปกว่า 40 ปีก็มีการพัฒนาบาร์โค้ดขึ้นอีกมากมาย และหนึ่งในบาร์โค้ดที่ได้รับความนิยมได้แก่ บาร์โค้ด 2 มิติหรือคิวอาร์โค้ด (QR Code) คือรหัสแบบหนึ่งที่เก็บข้อมูลได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษรมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีลายจุดสีดำใหญ่สามมุม มักใช้เก็บข้อมูลชื่อสินค้า ราคา เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่เว็บไซต์ มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแบล็คเบอรี่
คิวอาร์โค้ดถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทเดนโซ ประเทศญี่ปุ่น ในปีพ.ศ.2537 คำว่าQR มาจาก Quick Response แปลว่า การตอบสนองที่รวดเร็ว ปัจจุบันบาร์โค้ดชนิดนี้ได้รับความนิยมกับโทรศัพท์ที่มีกล้องถ่ายภาพ และติดตั้งซอฟท์แวร์ถอดรหัสภาพ ผู้ใช้สามารถใช้กล้องถ่ายบาร์โค้ดจากหนังสือพิมพ์ แผ่นป้ายโฆษณา หรือเว็บไซต์ แล้วถอดรหัสเป็นข้อความหรือที่อยู่เว็บไซต์แล้วบันทึกไว้ในโทรศัพท์ ซึ่งง่ายกว่าการพิมพ์ทีละตัวอักษร ความสามารถของคิวอาร์โค้ดสามารถนำเสนอข้อมูลเลขอารบิกได้ถึง 7,089 ตัว หรือบันทึกตัวอักษรแปดบิทได้ 2,953 ไบท์
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 บริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สร้างนวัตกรรมการสื่อสารกับผู้ชม โดยเปิดให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยใช้บาร์โค้ดแบบคิวอาร์โค้ดที่นับว่าทันสมัยที่สุด ได้สแกนบาร์โค้ดของรายการโทรทัศน์และเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแบล็คเบอรี่ (BlueBerry Mobile) ของตนสำหรับติดต่อกับรายการหรือทีมข่าว ซึ่งผู้เขียนก็ได้เห็นรายการที่คุณนารากร ติยายน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ชวนให้เพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อผ่านบาร์โค้ด สำหรับท่านที่ต้องการสร้างคิวอาร์โค้ดด้วยข้อมูลของตน สามารถเข้าเว็บไซต์ qrstuff.com qrcode.kaywa.com หรือ generator.beetagg.com เพื่อใช้บริการสร้างบาร์โค้ดแบบออนไลน์แล้วคัดลอกไปเผยแพร่ในสื่ออื่น ให้เพื่อนที่มีโทรศัพท์ BlackBerry และซอฟท์แวร์ถอดรหัสบาร์โค้ดได้ข้อมูลหรือข้อความสำหรับเชื่อมต่อ เช่น ผู้เขียนมีเว็บไซต์วิชาการก็จะสร้างคิวอาร์โค้ดแล้วพิมพ์สติกเกอร์ติดไว้หลังรถยนต์ เพื่อนที่ขับรถตามมาก็จะถ่ายภาพแล้วถอดรหัสเป็นข้อมูลสำหรับเข้าเว็บไซต์ของผู้เขียน เป็นต้น
จากคุณ :
บุรินทร์
.
10:36am (11/05/10)
บ
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
O
pinion
แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Truehits.net
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 11565 มิลลิวินาที สูง: 945 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net